Web Services
เว็บเซอร์วิส (Web services) คือ application หรือ program ที่ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะให้บริการ โดยจะถูกเรียกใช้งานจาก application อื่นๆ ซึ่งการให้บริการจะมีเอกสารที่อธิบายคุณสมบัติของบริการกำกับไว้ โดยภาษาที่ถูกใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนคือ XML ทำให้เราสามารถเรียกใช้ component ใด ๆ ก็ได้ ใน platform ใด ๆ ก็ได้ บน protocol HTTP ซึ่งเป็น protocol สำหรับ World Wide Web อันเป็นช่องทางที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง application กับ application ในปัจจุบันเว็บเซอร์วิส (Web services) ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากแอพพลิเคชันที่ต่างกันเป็นไปโดยง่าย โดยแอพพลิเคชันนั้นๆ สามารถเขียนด้วย Java และรันอยู่บน Sun Solaris Application Server หรืออาจจะเขียนด้วย C++ และรันอยู่บน Windows NT หรืออาจะเขียนด้วย Perl และรันอยู่บนเครื่อง Linux ซึ่งมาตรฐานของ เว็บเซอร์วิส (Web services) ทำให้อินเทอร์เฟซของแอพพลิเคชันเหล่านี้ ถูกอธิบายโดย WSDL และทำให้อยู่ในมาตรฐานของ UDDI หลังจากนั้น จึงสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันโดย XML ผ่าน SOAP อินเตอร์เฟส เว็บเซอร์วิส (Web services) สามารถถูกเรียกใช้ภายในองค์กรเองหรือจากภายนอกองค์กร โดยผ่านไฟร์วอล์ (Firewall) ดังนั้นจึงมีองค์กรใหญ่ๆ มากมาย กำลังพัฒนาระบบที่มีอยู่ของตน ให้เข้ากับ เว็บเซอร์วิส (Web services) ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจาก เว็บเซอร์วิส (Web services) สามารถเพิ่มศักยภาพในการทำงานขององค์กร อีกทั้งลดค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพยากรขององค์กรได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนั้น เว็บเซอร์วิส (Web services) ยังสามารถใช้ร่วมกับ เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) โดยส่งผ่านข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วยซึ่งนับเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหรือหุ้นส่วน ถึงแม้จะต้องคำนึงถึงระบบรักษาความปลอดภัย และการจัดการรายการของข้อมูลอยู่ก็ตาม แต่ เว็บเซอร์วิส (Web services) ได้ใช้มาตรฐานทั่วไปของอินเตอร์เน็ต (Internet) เรื่องดังกล่าวจึงนับเป็นเรื่องธรรมดาของการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
WSDL
WSDL (Web Services Description Language) เป็นภาษาที่ใช้อธิบายคุณลักษณะการใช้บริการของ เว็บเซอร์วิส (Web services) และวิธีการติดต่อกับ เว็บเซอร์วิส (Web service) ความต้องการของนิยามนี้เกี่ยวเนื่องกับความต้องการของระบบกระจายข้อมูล (distributed system) ที่จะกำหนด Interface Definition Language (IDL) โดยใช้ภาษา XML, WSDL เกิดจากการรวมแนวคิดของ NASSL (The Network Accessible Service Specification Language), WDS (Well-Defined Services) ของบริษัทไอบีเอ็ม , SDL (The Service Description Language) และ SCL (the SOAP Contract Language) ของบริษัทไมโครซอฟท์ ปัจจุบัน WSDL เป็นภาษา ที่อยู่ในการดูแลของ W3C (World Wide Web Consortium) ซึ่งยังไม่เป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ เวอร์ชันที่ใช้งานอยู่ใน ปัจจุบันคือ WSDL 1.1 ( รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ WSDL สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.w3c.org/TR/wsdl) WSDL คือ มาตรฐานสำหรับการประกาศ process ที่จำเป็นในการเรียกใช้เซอร์วิส SOAP (Simple Object Access Protocol)
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่าง WSDL WSFL
ศึกษาและทำความเข้าใจกับ WSFL ได้ดังนี้
Web Services Flow Language 1.0 (WSFL)
เป็นการใช้มาตรฐานภาษา XML ในการอธิบายการเชื่อมโยงกันระหว่างเซอร์วิสและกำหนดถึงระดับการทำงานของแต่ละเซอร์วิส โดยลำดับการทำงานจะให้นิยามด้วย Flow Control และการเชื่อมโยงระหว่าง Services จะให้นิยามด้วย Data Link ข้อมูลที่ใช้ในการนำเอามาและสำคัญมากคือ Web Services Description Language (WSDL) ซึ่งเป็นข้อมูลที่อธิบายถึงการทำงานของแต่ละเซอร์วิส โดยจะอธิบายว่าจะสามารถเข้าถึงแต่ละเซอร์วิสอย่างไร โดยจะมีส่วนเชื่อมต่อ (interface) ของแต่ละเซอร์วิส ที่จะให้ WSFL เข้าถึงและเรียกใช้งาน (Binding)
ส่วนประกอบของ WSFL มีดังนี้
1. เซอร์วิสที่จะเรียกใช้ (Service Provider)
2. โอเปอร์เรชั่นที่จะเรียกใช้แต่ละเซอร์วิส (Activity)
3. ที่อยู่ หรือ WSDL Object ของแต่ละเซอร์วิส (Locator)
4. Input และ Output ของแต่ละเซอร์วิส
5. Source Services คือ เซอร์วิสเริ่มต้นที่มีการเรียกใช้
6. ความสามารถในการเชื่อมโยงของแต่ละ Services (Data Link) ต้องพิจารณาชนิดของ Data ที่จะเชื่อมโยงกัน
7. รูปแบบการ Flow ว่าจะมีการเรียกใช้งาน Service ไหนก่อนหลัง (Control link)
8. เงื่อนไขในการ Flow ว่าจะเรียกใช้แต่ละ Service เมื่อ เงื่อนไขเป็นจริง (Transition Condition)
9. เมื่อสร้างรูปแบบ Flow เสร็จแล้วจะใช้ Service ไหนในการ นิยาม WSDL ของ
FlowModel นั้น และส่งออก ( export ) ในรูปโครงสร้างการทำงานของ WSFL
|